image01
    0 item



ถุงหนังสือยังว่าง
ยินดีต้อนรับ 

Foreign Books

Cartoon Hit

English Program (หนังสือเรียน) + เฉลย

หนังสือสองภาษา (ไทย/English)

หนังสือภาษาไทย

หน้าแรก ดาวน์โหลด

สินค้าโปรโมชั่นพิเศษ Special Promotion

สำหรับลูกค้าตลาดบุ๊คที่มียอดซื้อสินค้าไม่ว่ารายการใดๆ ครบ 300.- จะได้รับสิทธิ์แลกซื้อหนังสือใหม่ "สารคดี ธรรมชาติพิสดาร แมลง" ในราคา 40.- และ "นิทานสองภาษา + VCD" 50.-

อ่านต่อ

Easy management

ข้อความสไลด์ 2

อ่านต่อ

image01

สินค้ามาใหม่ New Arrival

ข้อความสไลด์ 3

อ่านต่อ

image01

สินค้ามาใหม่ New Arrival

ข้อความสไลด์ 4

อ่านต่อ

image01

ดาวน์โหลด

 

เตรียมพร้อมให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา (Bilingual)

การศึกษาเกี่ยวกับเด็กที่เรียนรู้สองภาษา (bilingual) หรือหลายๆ ภาษาพร้อมกัน (multilingual) โดย ศ.ดร.แพทริเซีย เค. คูห์ล ศาสตราจารย์แห่งภาควิชาวิทยาศาสตร์การพูด และการฟัง และเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาทางจิต สมอง และการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา อธิบายทฤษฎี "Native Language Magnet Theory (NLM)" ของเธอไว้ว่า ทารกแรกเกิดทุกคนนั้นเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการเรียนรู้ภาษาใดๆ ก็ได้ การวิจัยของ ดร.คูห์ลแสดงให้เห็นว่าใน 6 เดือนแรก เด็กทารกจะมีการบันทึกรูปแบบของเสียงที่เขาได้ยินไว้ในสมองขึ้นอยู่กับภาษาที่เปิดรับ เขาสามารถเรียนรู้เสียง และลักษณะของน้ำเสียงที่แตกต่างกัน แล้วจะเริ่มเปล่งเสียงตามภาษาที่ได้ยินออกมา เมื่อครบขวบปีเขาจะเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในภาษาที่เขาได้ยินเป็นประจำ (ภาษาแม่) จากนั้นความสามารถในการจำแนกลักษณะที่แตกต่างของเสียงจะค่อยๆ สิ้นสุดลง จึงหมายความว่า หากเด็กได้ยินสำเนียงภาษามากกว่าหนึ่งภาษาตั้งแต่ช่วงขวบปีแรกจะสามารถเรียนรู้และพูดภาษานั้นตามได้โดยอัตโนมัติประดุจภาษาแม่ ยิ่งหากได้ยินสำเนียงที่แท้แบบเจ้าของภาษามาเอง โอกาสเลียนแบบการพูดที่ถูกต้องก็ยิ่งมีมากขึ้น การเรียนรู้นี้จะเป็นพื้นฐานช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการเรียนภาษาอื่นๆ ที่หลากหลายได้ในเวลาต่อมา ทฤษฎีนี้ช่วยอธิบายข้อสงสัยที่ว่าทำไมเด็กลูกครึ่ง หรือชาวต่างชาติในเมืองไทยบางครอบครัวจึงสามารถพูดได้ทั้งภาษาของชาตินั้นและภาษาไทยตั้งแต่เริ่มหัดพูด

หลายงานวิจัยด้านจิตเวชยืนยันว่าการเรียนภาษาหลายๆ ภาษาตั้งแต่เด็กจะง่ายกว่าเรียนเมื่อโตแล้ว การใช้เทคนิคจำลองภาพกิจกรรมของสมองในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงด้วยแรงสั่นสะเทือนของแม่เหล็กโดยนักวิจัยจากศูนย์โรคมะเร็งสโลน-เค็ทเทอร์ริ่ง ในนิวยอร์ค พบว่าผู้ใหญ่ที่เรียนสองภาษาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ มีการเก็บภาษาทั้งสองไว้ด้วยกันในพื้นที่เดียวกันในสมอง จึงสามารถใช้ภาษาที่สองได้เหมือนกับเป็นภาษาแม่อีกภาษาหนึ่ง หากคนที่เรียนภาษาที่สองตอนที่โตแล้วจะใช้เนื้อที่ในสมองคนละส่วนกัน ดังนั้นเขาจึงแนะนำว่าการให้เด็กเรียนรู้ภาษาที่สองหรือสามควรเริ่มตั้งแต่ตอนเป็นเด็กเล็กๆ ยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะหากเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้วจะยิ่งเรียนรู้ได้ยากขึ้น เข้าทำนองไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก นั่นเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือการให้เด็กได้เจอกับเจ้าของภาษาจริงๆ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดหาเครื่องมือเช่น เทปเพลง หนังสือนิทาน หรือวิดีโอภาพยนตร์การ์ตูนที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในการฟังให้กับเด็ก การพูดกับเด็กบ่อยๆ หรือการหากลุ่มเพื่อนเล่น แม้กระทั่งพาเด็กไปเข้าโรงเรียนที่ใช้สองภาษาตั้งแต่แรกเริ่มก็เป็นวิธีฝึกฝนลูกให้มีพื้นฐานทางภาษาต่างประเทศที่ดีไปจนโต แต่หากปัจจัยไม่เอื้ออำนวยในประการหลังนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะทดแทนด้วยการหมั่นพูดหรืออ่านภาษาอังกฤษให้ลูกฟังเสมอๆ ให้เขาได้คุ้นเคยและโต้ตอบ ที่สำคัญมากที่สุดคือการสนับสนุนและให้กำลังใจลูกในการพูดภาษาอังกฤษและชี้แนะวิธีการพูดที่ถูกต้อง บรรยากาศที่สนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่านนิทานหรือดูการ์ตูนร่วมกับลูกจะเป็นกุญแจในการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเปิดรับภาษาอังกฤษให้กับลูกน้อยของคุณ

บางคนคงสงสัยว่าการให้เด็กพูดสองภาษาพร้อมๆ กันจะทำให้เด็กสับสน แต่การวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า เด็กที่พูดได้สองภาษาตั้งแต่เล็กๆ นอกจากจะไม่สับสนแล้ว ยังจะเป็นคนที่เรียนรู้อะไรได้เร็ว และมีทักษะในการแก้ปัญหาได้ดีกว่า ศ.เอลเลน ไบลี่สต็อค ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยยอร์ค จากแคนาดา ผู้ศึกษาด้านพัฒนาการทางภาษาในเด็กหลายร้อยคนกว่า 20 ปี เชื่อว่าการใช้สองภาษาควบกันจะฝึกเด็กรู้จักลำดับความสนใจ เพราะเขาจะต้องหยุดอีกภาษาหนึ่งไว้ขณะที่กำลังใช้อีกภาษาหนึ่ง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เมื่อเด็กสองภาษา และหนึ่งภาษาถูกขอร้องให้แก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจผิด จะเห็นว่าเด็กที่พูดสองภาษามีลำดับในการคิดแก้ปัญหาที่ดีกว่า และสามารถมองเห็นเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจผิดนั้น ความคิดของพวกเขาจะก้าวหน้ากว่าเด็กที่พูดภาษาเดียวอย่างน้อย 1 ปี สิ่งที่ตามมาคือทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความเป็นผู้นำ และเชื่อมั่นในตัวเองเมื่ออยู่ท่ามกลางเด็กคนอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีทักษะในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งมักจะพบว่าเด็กกลุ่มนี้สามารถทำคะแนนวิชาอื่นที่โรงเรียนได้ดีอีกด้วย

จากนิตยสาร healthtoday

Copyright © 2014 taladbook. All Rights Reserved. Tel : (083)-238-3335 | Fax : 02-707-1150 | Email : [email protected]

TOP